วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

การตรวจสอบไดโอด (diode Checking)

ไดโอดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไหลผ่านได้เพียงด้านเดียวที่เห็นเป็นประจำคือ วงจรเร็คติไฟเออร์ ไดโอดมีสองขั้วคือ แอโนด A และ แคโทด K ที่นิยมเรียกกันว่าขา A และขา K การสังเกตขาด้วยตาเปล่าจากการดูขีดที่ตัวไดโอดถ้าขีดอยู่ด้านไดแสดงว่าขานั้นเป็นขา K



การต่อวงจรไดโอดมีอยู่ 2 แบบ คือการต่อแบบไบอัสตรง (ต่อไฟบวกเข้าขา A) และการต่อแบบไบอัสกลับ (ต่อไฟบวกเข้าขา K)


การต่อแบบไบอัสตรง


ไดโอดจะยอมให้กระแสไหลผ่านเมื่อแรงดันตกคร่อมที่ตัวไดโอด 0.7V 


การต่อแบบไบอัสกลับ 


การต่อแบบนี้ไดโอดจะมีความต้านทานมาก ไดโอดจะไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านเปลียบเหมือนการเปิดวงจร




การตรวจสอบไดโอดด้วยมัลติมิเตอร์

ไดโอดเสียมี 3 ลักษณะ
     1 ไดโอดช็อต
     2 ไดโอดขาด
     3 ไดโอดรั่ว

เริ่มลงมือกันเลยครับ
    ลักษณะไดโอดที่ปกติ ก่อนอื่นตั้งมิเตอร์ไปที่ x1 ใช้สายบวกของมิเตอร์แตะที่ขา A สายลบแตะที่ขา K เข็มของมิเตอร์จะไม่ขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าสลับขาที่แตะ ค่าความต้านทานจะต้องขึ้น ถ้าไม่เป็นตามที่กล่าวแสดงว่าไดโอดเสีย

ลักษณะไดโอดที่ปกติ


    ลักษณะไดโอดช็อต ตั้งย่านมิเตอร์ที่ x1 ใช้สายมิเตอร์แตะทั้งสองขา A และ K เข็มมิเตอร์จะขึ้น และสลับขาที่แตะ K และ A เข็มมิเตอร์จะขึ้นเหมือนเดิมแสดงว่าไดโอดช็อต

ลักษณะไดโอดช็อต

    ลักษณะไดโอดขาด ตั้งย่านมิเตอร์ที่ x1 ใช้สายมิเตอร์แตะทั้งสองขา A และ K เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้น และสลับขาที่แตะ K และ A เข็มมิเตอร์จะไม่ขึ้นเหมือนเดิมแสดงว่าไดโอดขาด


ลักษณะไดโอดขาด


    ลักษณะไดโอดรั่ว ตั้งมิเตอร์ไปที่ x1 ใช้สายบวกของมิเตอร์แตะที่ขา K สายลบแตะที่ขา A เข็มของมิเตอร์จะขึ้น ถ้าสลับสายมิเตอร์บวกแตะ A ลบแตะ K ปกติเข็มจะไม่ขึ้น แต่ถ้าขึ้นและมีความต้านทานแสดงว่าไดโอดรั่ว

ลักษณะไดโอดรั่ว


VDO วิธีการวัดและตรวจสอบไดโอด 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น