วันพุธที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2562

การอ่านค่าตัวเก็บประจุ


การอ่านค่าตัวเก็บประจุและค่าความคลาดเคลื่อนตัวเก็บประจุที่แสดงบนตัวเก็บประจุโดยสามารถทำได้ 2 วิธี

1 แบบตัวเลขหรือตัวอักษร (Alphanumeric Labels
2 แบบรหัสสี (Color Coding)

การอ่านค่าตัวเก็บประจุด้วยตัวเลข หรือตัวอักษร

ตัวเก็บประจุจะสังเกตุได้ว่ามีตัวเลขและตัวอักษรอยู่บนตัวทั้งแบบกลมแบบและทรงกระบอกซึ่งนั่นเป็นค่าที่บ่งบอกถึงข้อมูลและรายละเอียดของตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุทรงกระบอกมีลักษณะตัวใหญ่จะแสดงรายละเอียดการอ่านค่าตัวเก็บประจุได้เข้าใจกว่า ค่าความจุจะพิมพ์แสดงบนตัวเก็บประจุมีหน่วยเป็น uF หรือ MF ค่าความคลาดเคลื่อนแสดงเครื่องหมาย +- ตามด้วยเครื่องหมาย % ค่าทนแรงดันเป็น V ส่วนตัวเลขหรืออักษรอื่นๆเป็นรหัสของผู้ผลิต

การอ่านค่าตัวเก็บประจุแบบจานกลมต้องอาศัยการถอดรหัสจ่กตัวเลขนั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วตัวเก็บประจุประเภทนี่จะไม่ระบุหน่วยมาให้ ดังนั้นวิธีการอ่านหน่วยตัวเลขที่มีจุดทศนิยมจะมีหน่วยเป็นไมโครฟารัด เช่น 0.01 จะได้ 0.01uF, 0.002 จะได้ 0.002uF เพียงแค่ใส่หน่วยไมโครฟารัดเข้าไป แต่ถ้าตัวเลขไม่มีจุดทศนิยมจะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 50 อ่านค่าได้ 50pF, 220pF หรือ 104 จะได้ 100,000pF


วิธีการหาค่า ตัวเลขสองตัวหน้าจะเป็นตัวตั้งและตัวที่สามจะเป็นตัวคูณเลขยกกำลัง
ตัวอย่างเช่น

   104 25V = 100,000pF 25V (10 x 10^4 มีหน่วยเป็น uF)

   222 25V = 2200pF 25V  (22 x 10^2 มีหน่วยเป็น uF)


แต่ถ้าตัวเลขมี 2 หลักหรือตัวเลขหลักที่ 3 เป็นเลข 0 ให้อ่านค่านั้นได้เลยครับเช่น 50 = 50pF, 220 = 220pF


อีกวิธีหนึ่งจะต้องใช้ความเชี่ยวชาญขึ้นมาหน่อยคือการเติม 0 เข้าไปหรือการย้ายจุดทศนิยม
ตัวอย่างเช่น

   104 ให้เติมเลข 0 เข้าไป 4 ตัว จะได้ 100,000pF

   222 ให้เติมเลข 0 เข้าไป 2 ตัว จะได้  2200pF



ค่าความคลาดเคลื่อนบางครั้งจะระบุไว้ชัดเจนตัวอย่างเช่น +-5%, +-10% แต่ในบางกรณีจะรุบุไว้เป็นตัวอักษรเช่น

         F    =  1%
         G    =  2%
         J     =  5%
         K    =  10%
         M   =  20%
         Z    =  -20%, +80%


การอ่านค่าการเก็บประจุโดยใช้รหัสสี

การอ่านค่าตัวเก็บประจุปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นการอ่านค่าแบบตัวเลขและตัวอักษรแต่การบอกค่าแบบรหัสสียังคงมีใช้อยู่บ้าง ซึ่งการอ่านค่ารหัสสีจะเหมือนกับการอ่านค่าตัวต้านทานทุกประการแต่จะมีต่างอยู่บ้างคือค่าความคลาดเคลื่อนเฉพาะบางตัวเท่านั้น








อ้างอิงแหล่งข้อมูล:

 **หนังสือเรียนวิชางานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ รหัส 3100-0003  มงคล พรหมเทศ, ณรงค์ชัย กล่มสมุทร



2 ความคิดเห็น:

  1. 16 v 1000uf.ใช้ 16v1500ufแทนกันแบบชั่วคราวใด้หรือไม่ ขอเรียนถามครับและจะเกิด ความเสียหายหรือไม่

    ตอบลบ